แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ โรคไต แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ โรคไต แสดงบทความทั้งหมด

8/08/2565

โรคไต กินแบบไหนดี

โรคไต กินแบบไหนดี 🍅🥬🍌

เป็นโรคไต ต้องกินอาหารอย่างไรนะ? บอกเลยว่าไม่ใช่แค่ลดเค็มอย่างเดียวเท่านั้น เมื่อไตเสื่อมลง การทำงานก็จะลดลง หน้าที่ขับของเสียออกจากเลือดและปัสสาวะที่ทำได้ดีก็ลดลงไปด้วย พอของเสียสะสมในร่างกายมาก ๆ ปัญหาอื่นก็จะพลอยยกขบวนมาเยือนเพียบ และรู้มั้ยว่าการรับประทานอาหารก็ต้องรักษาสมดุลให้ดี จะมากหรือน้อยไปก็ไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แม้แต่ปริมาณน้ำในแต่ละวัน
.
❌ ควรหลีกเลี่ยง
- ไข่แดง และขนมไทยที่ทำจากไข่แดง เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยา หม้อแกง
- เนื้อสัตว์ติดมัน เนื้อวัว เนื้อควาย และเนื้อสัตว์แปรรูปจำพวกหมูยอ แหนม แฮม 
- ถั่วต่าง ๆ มะม่วงหิมพานต์ งาดำ งาขาว
- ชีส เนย โยเกิร์ต ไอศกรีมนม และผลิตภัณฑ์จากนมวัว 
- ข้าวกล้อง
- บะหมี่
- ขนมปังโฮลวีท
- ผัก ผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น กระชาย กะเพรา สะเดา หัวปลี มะเขือ แคร์รอต ฟักทอง แก้วมังกร แตงโม ฝรั่ง ส้ม มะละกอ ทุเรียน
.
✅ ควรทาน
- ไข่ขาว 1-2 ฟองต่อวัน
- ปลา
- เนื้อหมู ไก่ ไม่ติดมัน
- น้ำเต้าหู้สดใหม่ นมพร่องมันเนย
- ข้าวขาว
- เส้นหมี่ เส้นเล็ก เส้นใหญ่ วุ้นเส้น 
- ผักสีอ่อน ผัก ผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำ เช่น ผักกาดขาว ฟัก มะเขือยาว มะระ ผักบุ้ง เห็ดหูหนู บวบ แตงกวา หอมหัวใหญ่ องุ่น ชมพู่ พีช เงาะ ลองกอง มังคุด
- น้ำขิง
- น้ำมันชนิดที่มีไขมันไม่อิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง
.
** ที่สำคัญอย่าลืมลด ละ อาหารเค็ม อาหารสำเร็จรูป ของหมักดอง ขนมกรุบกรอบ เพราะปริมาณโซเดียมต่อวันที่บริโภคไม่ควรเกิน 2,000 มก.
** ไม่ควรกินโพแทสเซียม 2,000-3,000 มก./วัน เพราะไตสามารถขับโพแทสเซียมได้น้อยลง แล้วสะสมอยู่ในเลือดแทน ส่งผลให้กล้ามเนื้อล้า หัวใจเต้นผิดปกติได้ 
** ถ้านำผักใบเขียวมาลวกหรือต้มก่อน จะช่วยลดโพแทสเซียมลงได้
** ปริมาณน้ำที่ควรดื่ม คำนวณได้จากปริมาณปัสสาวะต่อวัน + น้ำ 500 มล. ส่วนผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายจำกัดน้ำดื่มไม่เกิน 700-1,000 ซีซี./วัน

 #Maeban #แม่บ้านบอกต่อ